กูรูเศรษฐกิจชี้ ไทยควรเร่งเตรียมพร้อมรับมือกับเพอร์เฟกส์สตรอมของภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก

แนะปรับตัวเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการใช้นวัตกรรมเพื่อความอยู่รอด ชี้เอสเอ็มอี คือจุดเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากต้นทุนที่แพงขึ้น และกำลังที่ซื้อลดลง

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวใน การประชุมระดับนานาชาติ Trade and Development Regional Forum 2022: Futuristic Asia Pacific ที่จัดโดยสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) หรือ ไอทีดี เมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า จุดเปลี่ยนที่สำคัญของเศรษฐกิจโลกจะอยู่ในช่วงปีพ.ศ 2565-2568 ซึ่งประกอบไปด้วยปัจจัยที่สำคัญ 7 ประการที่ก่อตัวเป็น ภาวะเพอร์เฟกส์สตรอมทางเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างเช่น ภาวะความขัดแย้งของอมริกาและรัสเซียอันเกิดจากสงครมยูเครน-รัสเซีย วิกฤติอาหารและพลังงานโลก ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอเมริกาและประเทศอื่นๆ ความผันผวนที่เพิ่มขึ้นในตลาดการเงินโลก รวมถึงวิกฤตตลาดเกิดใหม่และการปรับตัวทางเศรษฐกิจของจีนด้วย สิ่งเหล่านี้จะต้องนำกลับมาตั้งคำถามว่า ประเทศไทยจะตั้งรับเพื่อรับมือกับความท้าทายและความผันผวนของเศรษฐกิจโลกอย่างไร รวมถึงความพร้อมในการทำธุรกิจในอนาคตที่มีรูปแบบที่เปลี่ยนไป ซึ่งจะมีการพัฒนาดิจิตัล เทคโนโลยีเข้ามาแก้ไขปัญหา ความขัดแย้งในสงครามการค้า และการยกเลิกการลงทุน เป็นต้น อย่างไรก็ตามภูมิภาคเอเชียยังคงเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุน ดังนั้นถ้าบริษัทใดที่ไม่มีการปรับตัวเพื่อพัฒนาระบบดิจิตัล ก็มีความเสี่ยงสูญที่จะหายไปจากตลาด

ดร.กอบศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า อัตราการเติบโตของ GDPโลกจะอยู่ที่ 2.7-6% ในช่วงกลางปีหน้า ในขณะที่เยอรมันคาดการณ์ว่าจะติดลบ 0.3% เช่นเดียวกันกับในหลายประเทศ แต่ข่าวดีคือในเอเชียอัตราการเติบโตของ GDP จะอยู่ที่ 4.9% และเนื่องจากมีเหตุการณ์ความไม่สงบในหลายประเทศทำให้นักลงทุนจากอเมริกาและยุโรปจะหันมาลงทุนในประเทศอาเซียนมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามมีความจำเป็นที่จะต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ประวัติศาสตร์บอกเราว่า ในช่วง 70 ปีที่ผ่านมา เกิดภาวะถดถอยมาทั้งหมด 4 ครั้ง และแต่ละช่วงจะใช้เวลาประมาณ 3-5 ไตรมาส

ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ขึ้นกล่าวในงานเดียวกันนี้ในหัวข้อ “Future is NOW”  ว่า เราสามารถเรียนรู้ได้จากวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งก่อนเพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเอง เพราะเรากำลังเข้าสู่ศตวรรษใหม่ ตอนนี้เราเห็นการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจใหม่ จากเศรษฐกิจโลกที่เคยถูกครอบงำโดยเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและยุโรป แต่ตอนนี้จีนก้าวมาเป็นผู้นำเศรษฐกิจโลกภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังเผชิญกับความท้าทายใหม่ ทั้งสงครามทางภูมิศาสตร์การเมือง การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน ความซบเซาทางเศรษฐกิจที่ตามมา ความมั่นคงด้านอาหาร ดังนั้นประเทศไทยจึงจำเป็นต้องเลือกโยบายมหภาคที่เหมาะสมในการบริหารทั้งในประเทศและต่างประเทศ

นายอภิสิทธิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อผ่านวิกฤติเหล่านั้นมาแล้ว เราเองอาจต้องประเมินความท้าทายศักยภาพของเราใหม่ ตอนนี้คนรุ่นใหม่กำลังเผชิญกับผลกระทบจากความขัดแย้งของสงครามรัสเซีย-ยูเครน ความขัดแย้งในไต้หวัน การระบาดใหญ่ของ covid-19 และสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ทั้งนี้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเป็นผู้ชนะในสงครามทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่เปิดกว้าง และไม่มีความขัดแย้งทางอุดมการณ์ที่มากนัก ทั้งนี้หากต้องการให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง เราจะต้องสร้างแรงจูงใจในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและทำตามข้อเสนอแนะอื่นๆ ที่ผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นในเวทีการประชุมแห่งนี้ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ การจัดกลุ่มระดับภูมิภาคต้องเร่งปฏิรูปข้อตกลงการค้า ตลอดจนสร้างความไว้วางใจเมื่อเกิดความผิดพลาดทางภูมิศาสตร์การเมืองโลกและเศรษฐกิจเชิงสังคม และทำให้เกิดความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ

ดร.สรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า นอกจากปัญหาการระบาดของโรคโควิด-19 แล้ว สงครามรัสเซีย-ยูเครนยังก่อให้เกิดการขาดแคลนของวัตถุดิบในการผลิตสินค้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลก โดยทำให้รายได้ต่อหัวของประชากรในประเทศกำลังพัฒนาลดลงไป 5% ซึ่งการประชุมครั้งนี้จะเป็นเวทีที่สำคัญในการเตรียมความพร้อม และเปิดรับมุมมองใหม่ๆในการแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจให้ลุล่วงไปได้ โดยประสบการณ์จากวิทยากรในสาขาต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเอื้อประโยชน์ในการทำธุรกิจในอนาคต อีกทั้งบทบาทสำคัญขององค์การต่างๆที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ทางด้านศาสตราจารย์ สมคิด เลิศไพฑูรย์ ประธานคณะกรรมการ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) หรือไอทีดี กล่าวว่า ไอทีดี เป็นสถาบันหลักเพื่อการวิจัยและพัฒนาการค้าและการลงทุน โดยเชื่อมั่นว่าความร่วมมืออันเข้มแข็งจากทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน นักวิชาการ ภาคสังคมจะทำให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนได้ โดยเฉพาะเศรษฐกิจในเขตเอเชียแปซิฟิกที่จะต้องใช้นวัตกรรมทั้งด้านเทคโนโลยี และเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อสร้างความสมดุลย์ในการเจริญเติบโตทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการค้าและการลงทุน ซึ่งจะต้องขับเคลื่อนไปพร้อมๆกันภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Bio-Circular-Green Economy Model-BCG Model)

ท้ายสุด นายมนู สิทธิประสาสน์ ผู้อำนวยการไอทีดี กล่าวสรุปว่าไอทีดีจะร่วมมือกับหน่วยงานระหว่างประเทศ ได้แก่ คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก หรือ แอสแคป (ESCAP)  ธนาคารโลก (World Bank)  ศูนย์พาณิชยกรรมระหว่างประเทศ (International Trade Centre)  สถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจเพื่ออาเซียนและเอเชียตะวันออก (ERIA) หอการค้าต่างประเทศ ภาควิชาการและภาคเอกชน ในการกำหนดนโยบาย และจัดทำแผนสำหรับ SMEs ของอาเซียน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น และมีแผนสำคัญที่จะช่วยให้ MSMEs สามารถเข้าสู่ตลาดโลก รวมทั้งเข้าสู่อุตสาหกรรมการเกษตรและอาหารของโลก ไอทีดีจะทำงานร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านโดยมุ่งเน้นนวัตกรรม และปรับปรุงการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เข้าถึงแหล่งเเงินทุน และขับเคลื่อนการใช้ข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน

นอกจากนี้ประชุมดังกล่าว ยังจัดให้มีการเสวนาในหัวข้อการประชุมย่อยต่างๆ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆมานำเสนอแนวคิด และแบ่งปันประสบการณ์ในประเด็นต่างๆ โดยมีประเด็นหลักที่สำคัญคือ อนาคตของบริษัทข้ามชาติ ซึ่งบริษัทขนาดใหญ่ของไทย เช่นบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ และบริษัทยูนิลิเวอร์มาร่วมเวทีความคิดเห็น โดยให้ความเห็นว่าการสร้างแบรนด์โดยใช้นวัตกรรมเป็นสิ่งที่จำเป็น รวมถึงแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรื่อนกระจก อีกทั้งจำเป็นต้องมีการปรับตัวให้รวดเร็วกับความต้องการของผู้บริโภค

อีกประเด็นที่สำคัญ คือการค้า การลงทุนและการเงินในอนาคต โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีอัตราการทำธุรกรรมบัญชีดิจิตัลค่อนข้างสูง โดยมีการจดทะเบียนมากกว่า 70 ล้านบัญชี สกุลเงินคริปโตจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจ โดยความจำเป็นในการใช้เงินกระดาษจะลดลงไปอย่างต่อเนื่องในอีก 3-5 ปีข้างหน้า นอกจากนี้กรีนบอนด์ ยังเป็นเทรนด์ที่สำคัญในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานและปิโตรเคมี เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทจะลงทุนในพลังงานที่สะอาด ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดภาวะโลกร้อน ทางด้านหอการค้าไทยเตือนว่าอุตสาหกรรม SMEs จะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย จากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และกำลังซื้อที่ถดถอย

ประเด็นต่อมาโอกาสของธุรกิจ Start Up ซึ่งผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จได้มาถ่ายทอดประสบการณ์การเรียนรู้จากการทำงาน โดยผู้ประกอบการต้องเลือกทำธุรกิจสินค้าให้ถูกต้อง ตรงใจผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด ซึ่งปัจจุบันสินค้าเพื่อสุขภาพจะได้รับความนิยมอย่างมาก และที่สำคัญจำเป็นต้องลงทุนในนวัตกรรมเพื่อสร้างความแตกต่างและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค

You May Also Like

Leave a Reply

Your email address will not be published.