เพื่อเสริมทักษะ Hard Skills / Soft Skills ให้น้องๆ มัธยมศึกษาตอนปลายและบุคคลภายนอกได้เรียนรู้ด้วยตนเอง – ตลอดชีวิต พร้อมก้าวสู่การเป็นนวัตกรและผู้ประกอบการที่มีศักยภาพสามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ก้าวสู่ปีที่ 65 สำนักวิชาศึกษาทั่วไป (GenEd) ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบการพัฒนาให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีกว่า 25,000 คน มีทักษะที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสถาบันฯ ที่มุ่งพัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมสู่สังคมโลก โดยจัดงาน
การศึกษา
เรียนแพทย์แผนจีน ดีอย่างไร ? นายกสโมสรนศ. ม.รังสิต มีคำตอบ
การแพทย์ทางเลือกเป็นอีกศาสตร์หนึ่งที่ในปัจจุบันได้รับความสนใจไม่น้อยในการดูแลรักษาสุขภาพ เช่นเดียวกับ พาฝัน-นางสาวธนพร สุพบุตร์ นายกสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2567 ที่มีความชอบทางด้านสายสุขภาพมาโดยตลอด จึงตัดสินใจเข้าเรียนสาขาวิชาการแพทย์แผนจีน ที่วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต พาฝัน พูดถึงเหตุผลในการตัดสินใจเลือกเรียนทางด้านนี้ว่า เริ่มตั้งแต่ช่วงที่เตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย ยังไม่เจอคณะที่ชอบ จึงพยายามหาข้อมูลในมหาวิทยาลัยต่างๆ ว่าคณะนี้มีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับสายสุขภาพ จนมาเจอวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออกม.รังสิต ซึ่งมีเปิดสอนสาขาแพทย์แผนจีนจึงหารายละเอียดเพิ่มเติม และตัดสินใจเลือกเรียนที่นี่ พอเริ่มเข้ามาเรียนก็รู้สึกว่าเป็นหลักสูตรที่ตอบโจทย์ ตรงใจตัวเองมาก
ว.เชียงใหม่ สานพลัง สสส. ปั้นแกนนำต้นกล้ารุ่นใหม่ “ละอ่อนวัยใส ต้านภัยเหล้า บุหรี่ ยาเสพติด”
เมื่อเร็วๆนี้ ที่ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ลงพื้นที่ร่วมกิจกรรม ‘ละอ่อนวัยใส ต้านภัยเหล้า บุหรี่ ยาเสพติด’ ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายและหนุนเสริมศักยภาพครูและแกนนำนักเรียนอาชีวศึกษา ป้องกันปัจจัยเสี่ยง (เหล้า บุหรี่) ในสถานศึกษา ลดปัจจัยเสี่ยง เพิ่มปัจจัยบวก เน้นสร้างครูและนักศึกษาแกนนำให้กลายเป็นต้นกล้ารุ่นใหม่ๆ รู้ทันปัจจัยเสี่ยงไม่ตกเป็นเครื่องมือทางการตลาดของธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และธุรกิจบุหรี่ไฟฟ้าที่ยังผิดกฎหมายในไทย
ว.นานาชาติ ม.รังสิต จัดกิจกรรมบูรณาการในรายวิชา IRS111 Social Dharmacracy
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต จัดกิจกรรมบูรณาการทางวิชาการ ระหว่างนักเรียนไทยและต่างชาติ (นักเรียนเทคนิคการแพทย์และนักเรียนต่างชาติ) ในรายวิชา IRS111 Social Dharmacracy (RIC) เพื่อเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เน้นการฝึกฝนเทคโนโลยีด้านการแพทย์ โดยจัดกิจกรรม Role-Play เกี่ยวกับการบริจาคเลือด เรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และการแพทย์ ทั้งนี้ นักศึกษาได้สำรวจเรียนรู้ด้านเทคนิคการแพทย์ขั้นสูง และยังได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และวัฒนธรรมระหว่างกัน ณ ห้อง 1-301 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ (อาคาร 1) มหาวิทยาลัยรังสิต
โขนเยาวชนไทยพร้อมโชว์ซอฟต์พาวเวอร์ ผงาดเวทีระดับโลกที่ประเทศเลโซโท ทวีปแอฟริกาเป็นครั้งแรก
ดร.อวัสดา ปกมนตรี รองกงสุลกิตติมศักดิ์ราชอาณาจักรเลโซโทประจำประเทศไทย ในฐานะประธานโครงการโขนเยาวชนไทยไปแอฟริกาเปิดเผยในงานแถลงข่าว“โขนเยาวชนไทย ไปแอฟริกา”ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัลกรุงเทพฯว่า สถานกงสุลราชอาณาจักรเลโซโท ประจำประเทศไทย ร่วมกับคณะเด็กไทยใจรักโขน โดยการสนับสนุนจากกรมเอเชียใต้ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พร้อมนำคณะนักแสดงเด็กไทย บินข้ามทวีปไปจัดแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ในตอน “พระรามยกทัพ สัประยุทธ์ทศกัณฐ์” เฉลิมฉลองในงานสมโภช 200 ปีแห่งการเป็นประเทศ ของราชอาณาจักรเลโซโท ทวีปแอฟริกาซึ่งมีความสัมพันธ์อันดียิ่งกับประเทศไทยทั้งในระดับพระราชวงศ์ และเลโซโทยังออกเสียงสนับสนุนประเทศไทยในเวทีโลกมาโดยตลอด ภายใต้การนำของ กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ราชอาณาจักรเลโซโท
มวล.ผนึก 33 สถานประกอบการบนเกาะสมุย เอ็มโอยู‘สหกิจศึกษา’ ปั้นน.ศ.ป้อนธุรกิจท่องเที่ยว
มวล.จับมือ 33 สถานประกอบการ ในพื้นที่อ.เกาะสมุย ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้าน “สหกิจศึกษา” เพื่อร่วมกันพัฒนาทักษะนักศึกษาให้เชี่ยวชาญในการปฏิบัติ มีความพร้อมทำงานจริง ป้อนตลาดแรงงานในภาคการท่องเที่ยว เมื่อเร็วๆนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผดุงศักดิ์ สุขสอาด รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์(มวล.) ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Cooperative and Work Integrated Education: CWIE) ประจำปี พ.ศ.2567 ร่วมกับผู้บริหารโรงแรม
อัพสกิล! สร้างสรรค์สื่อและภาพลักษณ์องค์กร กับสาขาประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร ม.รังสิต
ยุคที่การสร้างแบรนด์ธุรกิจและสินค้าให้กลายเป็นที่รู้จัก ต้องใช้หลักการวางแผนการประชาสัมพันธ์ ทั้งภายในและภายนอก เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์และองค์กร วันนี้รุ่นพี่จะมาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับการเรียนในสาขาการประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต จะเป็นอย่างไร ตามไปดูกัน ปิยาภรณ์ คุ้มชาติ (พี่น้ำ) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า การประชาสัมพันธ์เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญทางการสื่อสารขององค์กร มีหน้าที่สำคัญในการเผยแพร่ ข้อมูล และสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร ให้เป็นที่รู้จักต่อกลุ่มเป้าหมายและสังคม ซึ่งต้องอาศัยการสื่อสาร
ม.รังสิต จับมือ สสส. และบริษัทเทลสกอร์ ร่วมพัฒนาหลักสูตร Young Influencer for Social Change
วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และบริษัท เทลสกอร์ จำกัด จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) เดินหน้าพัฒนาหลักสูตรวิชาอินฟลูเอนเซอร์เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม ผ่านการอบรมภายใต้โครงการ Young Influencer for Social Change หวังให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ตื่นตัวใช้พลังโซเชียลขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะ นางญาณี รัชต์บริรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สสส. กล่าวว่า สสส.
“มิ้น” กานติมา รุ่นพี่ ว.นานาชาติจีน ม.รังสิตกับหลักสูตรการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์มากที่สุด
การเรียนภาษาจีนที่วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นมากกว่าการได้เรียนรู้ด้านภาษา เพราะที่นี่ หลักสูตรการเรียนการสอนเน้นการเรียนรู้ด้านบริหารธุรกิจ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาสามารถเตรียมตัวสู่โอกาสใหม่ทางธุรกิจในตลาดโลกได้ เช่นเดียวกับเหตุผลในการเลือกเรียนของเธอคนนี้ มิ้น – กานติมา รุ่นพี่จากวิทยาลัยนานาชาติจีน เธอบอกว่าอยากเรียนอะไรที่มากกว่าภาษา เรียนแล้วจะต้องเอาไปใช้ได้จริงในอนาคตด้วย นางสาวกานติมา แสนบริบูรณ์สุข (มิ้น) นักศึกษาชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยนานาชาติจีน มหาวิทยาลัยรังสิต จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายศิลปศ์ ภาษาจีน จากโรงเรียนสายน้ำผึ้ง
“การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์สื่อในวงการภาพยนตร์และซีรีส์ไทย” เรียบเรียงโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณชรต อิ่มณะรัญ
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา วงการภาพยนตร์และซีรีส์ไทยได้เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในภูมิทัศน์สื่อ จากการเติบโตอย่างรวดเร็วของแพลตฟอร์มสตรีมมิง เช่น Netflix, Disney+, และ Viu ที่ได้เปลี่ยนวิธีการบริโภคคอนเทนต์ ของผู้ชม การพัฒนาเทคโนโลยีและการเข้าถึงสื่อที่สะดวกสบายยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ผลิตคอนเทนต์ไทยต้องเผชิญกับความท้าทายและต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว ข้อมูลจาก สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Depa) ระบุว่าในปี 2566 ตลาดสตรีมมิงในประเทศไทยมีมูลค่าสูงถึง 22,000 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25 จากปี 2563