Family talk เวทีประชุมวิชาการ เรื่องครอบครัวพลังบวก ครอบครัวไทยไร้ความรุนแรงครั้งที่ 3

  • มีนาคม 2565 ณ โรงแรมทีเค พาเลซ แอนด์คอนเวนชั่น ถนนแจ้งวัฒนะ   

 ศาสตราจารย์ นายแพทย์รณชัย คงสกนธ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการศูนย์คุณธรรม ได้กล่าวในพิธีเปิดเวทีวิชาการครอบครัวไทยไร้ความรุนแรงครั้งที่ 3 ว่า  โครงการวิจัยชุดนี้ มีจุดเด่นของงานการวิจัย 3 เรื่อง สำคัญ  คือ 1) มีองค์ความรู้และชุดประสบการณ์ของผู้วิจัยที่มีความเชี่ยวชาญ เฉพาะทางด้านเด็กและเยาวชน ที่ได้นำลงไปสู่การใช้จริงในพื้นที่ปฏิบัติการ เช่น ทุนชีวิต (Life assets) ของคุณหมอสุริยเดว  ทรีปาตี  การป้องกันเด็กติดเกม ของคุณหมอชาญวิทย์ พรนภดล  ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายและสิทธิเด็ก ของท่านอัยการ โกศลวัฒน์          อินทุจันทร์ยง รองอธิบดีอัยการสำนักงานคดีศาลแขวง  2) มีการเปิดเวทีให้ความรู้เรื่องกฎหมายครอบครัวและสิทธิเด็ก เพื่อนำความคิดเห็น ข้อเสนอแนะแต่ละเวที มายื่นเสนอแก้ไขกฎหมายด้านครอบครัวและสิทธิเด็กที่บังคับใช้ในปัจจุบันให้ทันสมัย เอื้อประโยชน์ต่อครอบครัว เด็กและเยาวชนได้จริง  3) มีเป้าหมายเกิดระบบพี่เลี้ยงในชุมชน ที่ประกอบด้วย  คนที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานครอบครัว ส่งเสริมกิจกรรมสร้างสรรค์ในชุมชน และการแก้ปัญหาเด็กเยาวชนและครอบครัวในพื้นที่วิจัย

โครงการวิจัยเรื่อง ชุดแผนงานครอบครัวไทยไร้ความรุนแรงซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย จาก สำนักงาน   การวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยมีภาคีเครือข่าย นำโดยศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์   ศิริราชพยาบาล สำนักงานอัยการสูงสุด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย    กระทรวงวัฒนธรรม  กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงยุติธรรม และยังมีหน่วยงาน ที่เป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญในพื้นที่

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดสุราษฎร์ธานี สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น ภาคใต้ ซึ่งผลที่ทำให้เกิด #ระบบพี่เลี้ยงในชุมชนต้นแบบของประเทศ ที่มี ระบบ coaching โดย จิตวิทยาพลังบวก จากอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ต่างๆ สู่การพัฒนาชุมชนท้องถิ่น โดยผ่านทางทั้ง 3 โครงการย่อย โครงการครอบครัวพลังบวก โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กติดเกมโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน โครงการป้องกันความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งจะขยายผล เชื่อมกลไกท้องถิ่น และร่วมกันขับเคลื่อน ครอบครัว  พลังบวก ในสังคมไทยให้ยั่งยืนต่อไป 

รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการ ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ในฐานะที่เป็นหัวหน้าชุดแผนงานโครงการครอบครัวไทยไร้ความรุนแรง ได้สรุปผลสำเร็จของโครงการฯ ในเวทีวิชาการครั้งที่ 3 นี้ ซึ่งเห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน

  • ระบบพี่เลี้ยงในชุมชน เกิดแกนนำ/ครอบครัวพลังบวก 38 พื้นที่ จาก 13 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดอุดรธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็น 4 จังหวัดนำร่อง และ จังหวัดกรุงเทพมหานคร จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพังงา จัวหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดขอนแก่น จังหวัดพะเยา จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 1,360 คน โดยแบ่งเป็น โครงการย่อยที่ 1 ครอบครัวพลังบวก จำนวน 16 พื้นที่ จำนวน150 คน  โครงการย่อยที่ 2 Healthy Gamer 8 พื้นที่ จำนวน591 คน และ โครงการย่อยที่ 3 แกนนำพี่เลี้ยงชุมชนพลังบวก 14 พื้นที่ จำนวน 565 คน  
  • ด้านองค์ความรู้/เครื่องมือ มีการสำรวจสถานการณ์ครอบครัว ในจังหวัดนำร่อง 4 จังหวัด ในหัวข้อต้นทุนชีวิต การเลี้ยงดูเชิงบวก แบบวัดโรคติดเกมอินเตอร์เน็ต(ฉบับย่อ) และแบบประเมินการสร้างวินัยเชิงลบ พร้อมทั้งเกิด
  • หลักสูตรฝึกอบรม E-learning ค่ายครอบครัวพลังบวก (Scenario Based)
  • หลักสูตรการอบรมผู้ปกครองเพื่อปรับพฤติกรรมเด็ก (Online group process)
  • แบบวัดโรคติดเกมอินเทอร์เน็ต ฉบับย่อ (IGDS9-SF)
  • แบบประเมินการสร้างวินัยเชิงลบ
  • Line official account  (HG Unit) ให้คำแนะนำปรึกษาปัญหาติดเกม
  • การเผยแพร่สู่สาธารณะ เกิดเวทีวิชาการ ครอบครัวไทยไร้ความรุนแรง 2 เวทีที่ผ่านมา  มีการเสวนาประเด็นด้านเด็ก ครอบครัว ในการรายการ ครอบครัวพลังบวก Live จำนวน 4 ครั้ง  มีการประกวดสื่อสร้างสรรค์ ยุติปัญหาความรุนแรงในครอบครัว และได้ทำการรวบรวมข้อมูลโครงการเพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะ ตามสื่อออนไลน์ต่างๆ เช่น

https://moralcenter.or.th/family/ ,  www.healthygamer.net , https://favp.net ,  

Page Facebook  ครอบครัวพลังบวกด้วยพี่เลี้ยงชุมชน   

ดร.บุ๋ม ปนัดดา วงศ์ผู้ดี ผู้ก่อตั้งและประธานองค์กรทำดี หนึ่งในวิทยากร Family talk กล่าวบนเวทีว่า ส่วนตัว ดร.บุ๋ม ได้ลงพื้นบ่อยๆ  ได้ศึกษา ได้เห็นสภาพความเป็นอยู่ สามารถบอกได้ว่า การทำงานของครอบครัวพลังบวกมีความสำคัญอย่างมาก เพราะว่าครอบครัวในแต่พื้นที่ มีสังคมที่หลายรูปแบบ ในเมืองกับในต่างจังหวัดก็ไม่เหมือนกัน การดูแลเลี้ยงลูกด้วยรูปแบบที่ไม่เหมือนกันของคุณพ่อคุณแม่คุณตาคุณยายในแต่ละพื้นที่ ก็แตกต่างอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นการทำเครือข่ายครอบครัวพลังบวกแบบนี้ จะช่วยทำให้เกิดพลังความร่วมมือดีๆ มีแบบอย่าง             มีรูปแบบ ที่จะทำให้ครอบครัวแต่ละพื้นที่สร้างพื้นฐานของสังคมที่ดีขึ้นได้

       นางจินตนา จันทร์บำรุง อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กล่าวบนเวทีว่า กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เป็นหน่วยงานหลักในการประสานการดำเนินงานเรื่องป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ได้เห็นพลังบวกจากพลังของเครือข่าย และมีความหวังกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ว่าเรามีทางออก เรื่องในครอบครัว ความรุนแรงในครอบครัว ไม่ใช่เรื่องของครอบครัว แต่เป็นเรื่องของทุกคนในสังคม

สามารถติดตามโครงการได้ที่เวปไซด์ศูนย์คุณธรรม www.moralcenter.or.th โครงการวิจัยเรื่อง ชุดแผนงานครอบครัวไทยไร้ความรุนแรง และสามารถชมเวทีวิชาการครอบครัวไทยไร้ความรุนแรงครั้งที่ 3 ย้อนหลังได้ ทาง facebook ศูนย์คุณธรรม

You May Also Like

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *