สมาคมการค้าและการลงทุนเอเชียน – สากล เปิดโอกาสผู้ประกอบการไทยเจาะตลาดจีน สานนโยบาย “เส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21” สอดคล้อง EEC ให้มีความเชื่อมโยงกับจีน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการค้าและการลงทุนระหว่างไทย-จีน และสานความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ล่าสุด จับมือเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน มณฑลกานซู่ สาธารณรัฐประชาชนจีน จัดงาน2019 ASEAN CHINA (BANGKOK) IMPORT & EXPORT COMMODITIES FAIR มหกรรมแสดงสินค้ามาตรฐานไทยและจีนส่งออก ครั้งที่ 9 ณ อิมแพค เมืองทองธานี 8-10พ.ย.นี้ รวบรวมสินค้าอุปโภคบริโภคกว่า 1,000 ราย จัดเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย มีการจัดแสดงสินค้าจีนที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียงกว่า 10 มณฑล 200 บูธ โดยคาดว่าจะมี Visitor เข้าร่วมงานกว่า10,000คน
นายอู๋ จื้อ อี้ นายกสมาคมการค้าและการลงทุนเอเชียน-สากล เปิดเผยว่า สมาคมฯ ได้จัดงานมหกรรมสินค้ามาตรฐานไทยและจีนส่งออก หรือ ACIEC เป็นประจำทุกปี โดยปีนี้ได้กำหนดจัดระหว่างวันที่ 8 – 10 พฤศจิกายน 2562 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี ซึ่งจัดเป็นครั้งที่ 9
โดยภายในงานดังกล่าว จะมีการจัดแสดงสินค้าจีนที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียงกว่า 10 มณฑล มีการจัดแสดงสินค้าไทยและสินค้าจากประเทศในภูมิภาคอาเซียน ที่มีชื่อเสียงและมีศักยภาพในการขยายสู่ตลาดจีน รวมทั้งสิ้นกว่า 200 บูธ บนพื้นที่6,000 ตรม. โดยคาดว่าจะมี Visitor เข้าร่วมงานกว่า 10,000 คน มีการซื้อขายมากกว่า 30 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมเจรจาธุรกิจ (Business Matching) เพื่อให้ผู้ประกอบการไทย ได้พบปะเจรจาทางธุรกิจร่วมกันผู้ประกอบการจีนโดยตรง และเป็นการเปิดโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยในการขยายตลาดสู่สาธารณรัฐป่ระชาชนจีนซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย
นายเดชา จาตุธนานันท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประธานเปิดงานกล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่า ไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนมีความสัมพันธ์มายาวนาน เปรียบเสมือนพี่น้อง โดยในปี 2561 มีนักท่องเที่ยวจีนมาไทยมากกว่า 10ล้านคน คิดเป็นรายได้ 5.8 แสนล้านบาท หลังจากที่มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจการค้า อาเซียน-จีน เศรษฐกิจการค้าระหว่างจีนและอาเซียนได้เกิดการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งประเทศไทยมีความได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้งของประเทศเนื่องจากตั้งอยู่ในศูนย์กลางของอาเซียน ทำให้สามารถดึงดูดนักลงทุนจากจีนมายังไทยจำนวนมาก ประกอบกับหลายปีที่ผ่านมาการบริโภคของไทยในจีน โดยสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปไทยได้รับความนิยม อาทิ ข้าวหอมมะลิ มังคุด ทุเรียน มะม่วง หมอนยางพารา เป็นต้น
ปัจจุบันจีนเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย โดยในปี 2561 มีมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยไปจีนมากกว่า 9.6 แสนล้านบาท ซึ่งกลุ่มสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปยังเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในตลาดจีนและเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันที่สำคัญต่อภาพรวมการส่งออกของไทย โดยสินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง เป็นต้น
ในขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าจากจีนเป็นมูลค่าประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท โดยสินค้าหลักที่นำเข้าจากจีนอาทิ เครื่องจักรกล ชิ้นส่วนอะไหล่ เครื่องไฟฟ้าและเหล็กกล้า เป็นต้น การจัดงานในครั้งนี้จึงเป็นนิมิตรหมายที่ดีในการช่วยส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าการลงทุน ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างทั้ง 2 ประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และเป็นสะพานเชื่อมโยงการค้าการลงทุนและวัฒนธรรมระหว่างไทย-จีน
สำหรับสินค้าที่นำมาแสดงได้แก่กลุ่ม โลจิสติกส์ อีคอมเมอร์ซ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องจักร อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์การก่อสร้าง เครื่องจักรกลการเกษตร เครื่องไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม อะไหล่ยานยนต์และจักรยานยนต์ สิ่งทอ อาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ยาจีน ยาสมุนไพรจีน เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์บำรุงหน้าและผิวกาย อาหารแปรรูป เป็นต้น
สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการจีนที่น่าจับตามองเป็นพิเศษ และมีไฮไลท์ เทคโนโลยีสำคัญ ได้แก่ ผู้ประกอบการจากเมืองเสิ่นหยาง มณฑลเหลียวหนิง ซึ่งนำนวัตกรรมหุ่นยนต์ให้บริการ (Service Robot) มาจัดแสดง ซึ่งเหมาะสำหรับการให้บริการในร้านอาหารหรือภัตตาคารต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีแอปเปิ้ลสดที่มีชื่อเสียงที่ส่งตรงจากมณฑลกานซู สาธารณรัฐประชาชนจีนที่มาจำหน่ายในราคา Promotion สุดพิเศษ ซึ่งสามารถหาซื้อได้ในงานนี้เท่านั้น
ภายในงานมีการจัดกิจกรรมต่างๆ มากมาย ตลอดระยะเวลา 3 วัน มีทั้งการจัดสัมมนาให้ความรู้ทางด้านการค้าการลงทุน และการเตรียมความพร้อมสู่ตลาดจีน และกิจกรรมเจรจาธุรกิจ (Business Matching) โดยวันที่ 8 พ.ย.2562 จะมีการสัมมนา “ความร่วมมือทางด้านการค้าและการลงทุนไทย – มองโกเลียใน เพื่อก้าวสู่ตลาดอาเซียน” โดยได้รับเกียรติจาก Mr. Xuan Yong อธิบดีสำนักพาณิชย์ เมืองบายานเนอร์ เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน และ Mr. Guo Gang รองนายกเทศมนตรี เมืองบายานเนอร์ เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน สาธารณรัฐประชาชนจีน มากล่าวแนะนำภาพรวมและสภาพเศรษฐกิจของเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน
ทั้งนี้ในโซนเขตปกครองตนเองมองโกเลียในมีผู้ประกอบการมีชื่อเสียงมาร่วมออกบูธด้วย โดยนาย เทียน ฟู เหอ เต่า ประธานบริษัทเจ้าของแบรนด์ผลิตภัณฑ์เมล็ดทานตะวัน Mr. Kui เปิดเผยว่า สภาพเศรษฐกิจโดยรวมของเขตปกครองตนเองมองโกเลียเป็นเมืองเกษตร มีการพัฒนาด้านเกษตรค่อนข้างดี นอกเหนือจากการมีถ่านหิน โดยพืชเกษตรที่สำคัญได้แก่ เมล็ดทานตะวัน มะเขือเทศ เก๋ากี๊ ข้าวและผลไม้ต่าง ๆ โดยเฉพาะทานตะวันมีพื้นที่เพาะปลูกมากกว่า 2 ล้านไร่
ประธานเหอ เต่ากล่าวต่อว่า สำหรับการมาร่วมงานในครั้งนี้เป็นครั้งแรก เพราะอยากให้เมล็ดทานตะวันที่ยังสดใหม่ เป็นสินค้าออร์แกนิค อร่อยและปลอดภัยมาเข้าตลาดไทย โดยจะหาตัวแทนขายก่อนเป็นเวลา 2-3 ปี ก่อนมาตั้งโรงงานในไทย คาดหวังให้ไทยเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าในตลาดอาเซียน หลังจากปัจจุบันส่งออกไปประมาณ 50 ประเทศทั่วโลก ประมาณ 50,000 ตันต่อปี ทั้งในยุโรป และเอเชีย
ขณะเดียวกันเขตปกครองตนเองมองโกเลียในยังเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวอีกแห่ง โดยมีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญอาทิ แม่น้ำฮวงโห ทุ่งนาและทะเลสาปต่าง ๆ โดย มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางไปประมาณ 500,000 คนต่อปี แต่ยังมีคนไทยไปไม่มาก และยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวไทยไปเที่ยวเขตปกครองตนเองมองโกเลียในและไปเยี่ยมชมโรงงานได้
ส่วนวันที่ 9 พ.ย. 2562 ช่วงเช้า จะมีการสัมมนา “รู้ก่อน รุ่งก่อน ติดความรู้สู่ตลาด E-Commerce จีน” บรรยายโดย คุณสนทรรศน์ ศรีดารณพ ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์ และความคิดสร้างสรรค์ บริษัท จอยอัพ อินเตอร์เทรดดิ้ง ดีพลัส จำกัด ช่วงบ่าย จะมีการสัมมนา “ติดอาวุธ AI เพื่อก้าวสู่ความสาเร็จขององค์กร” โดยมีประเด็นต่างๆ อาทิ นวัตกรรมคลังสินค้าอัจฉริยะ (Smart Warehouse) นวัตกรรมเทคโนโลยีช่วยการจัดเก็บและขนถ่ายสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด จัดเก็บสินค้าคงคลังอย่างไรให้น้อยลง และให้มีอัตราการหมุนเวียนสินค้าสูงขึ้น สร้างระบบปฏิบัติงานที่มีมาตรฐานและคุณภาพสูงขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าออนไลน์ได้อย่างไร Alibaba E-Commerce Smart Logistics ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ที่ใช้ในคลังสินค้าของ ALIBABA นวัตกรรมคลังสินค้าไร้คนขับ ระบบอัจฉริยะในการจัดเก็บและแพ็คสินค้าจานวนมาก ด้วยหุ่นยนต์ การปรับใช้ Alibaba E-Commerce Smart Logistics Model กับ SME และ การประยุกต์ใช้ AI ในธุรกิจสมัยใหม่ บรรยายโดย คุณอนุชิค นาคกล่อม กรรมการผู้จัดการบริษัท Sensornic จำกัด
วันที่ 10 พ.ย. 2562 จะมีการสัมมนา “เตรียมความพร้อม ติดอาวุธ สู่ตลาดจีน” บรรยายโดย นายทศพล ทรวงแสวง อาจารย์พิเศษและผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดจีน บริษัท SICHUAN RTKH Business Consultant (Chengdu, China) จำกัด จากนั้นจะเป็นการบรรยายในหัวข้อ “ติดอาวุธ ด้านเครื่องหมายการค้าจีน” โดยนายกษิติ หลากสุขถม ที่ปรึกษากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา บริษัท อินเทลเล็คชวล ดีไซน์ กรุ๊ป จำกัด
ดังนั้นงานนี้จึงเป็นหนึ่งในเวทีสำคัญสำหรับนักธุรกิจไทยและจีน ที่ได้มีโอกาสทำความรู้จักแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเจราจาธุรกิจร่วมกัน จากการที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ประกาศใช้นโยบายเส้นทางสายไหม หรือ Silk Road เมื่อเดือนกันยายน 2013 ที่ผ่านมา โดยการนำทฤษฎีเส้นทางการค้าที่ชื่อว่า “เส้นทางสายไหม” ที่ประสบความสำเร็จในอดีต ทั้งในแง่ของการขยายอิทธิพลทางการค้าและเผยแพร่วัฒนธรรมมาปรับปรุงใหม่ เพื่อแผ่ขยายอิทธิพลทางการค้าและวัฒนธรรมของจีนให้เพิ่มมากขึ้น โดยมีชื่อเรียกใหม่ว่า “One Belt and One Road” หรือ “เส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21” นั้น ถือได้ว่าเป็นแผนการพัฒนาประเทศและเชื่อมโยงกับภูมิภาคต่างๆ อย่างยั่งยืน สอดรับกับประเทศไทยได้กำหนดยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ ได้แก่ นโยบายแผนพัฒนาเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ให้มีความเชื่อมโยงกับนโยบาย One Belt One Road ของจีน เพื่อสานความสัมพันธ์การค้าระหว่างสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น