
ดร. บุญลือ ประเสริฐโสภา ประธานคณะกรรมาธิการกีฬาสภาผู้แทนราษฎรบรรลุความสำเร็จอย่างงดงาม ตามเจตนารมณ์นาในการสร้างความเป็นหนึ่งเดี่ยว โดยสามารถ ดึงชาติซ้ายจับกับศักดิ์ชาย ทำ MOU ร่วมกันผลักดันมวยไทยสู่ประชาคมโลกและโอลิมปิก ขณะเดียวกัน กกท. ก็เห็นด้วยที่จะปรับปรุงแก้ไข แผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนมวยไทยสู่โอลิมปิกเกมส์ 2024 โดยให้นายกสมาคมกีฬามวยอาชีพเข้าไปมีบทบาท ในฐานะกรรมการส่งเสริมแผนงานด้วย ส่วนประเด็นเกี่ยวกับข้อบังคับของ สหพันธ์มวยไทยนานาชาติ (IFMA) ที่ถูกมองว่าเป็นการายึดครองมวยไปเป็นของตัวเองนั้น ประธานกมท.กีฬาชี้ว่า ว่าไม่มีใครสามารถเป็นเจ้าของมวยไทยได้ เพราะประเทศไทย โดยกระทรวงวัฒนธรรมได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรมของชาติไว้แล้ว

ในการประชุมคณะกรรมาธิการกีฬา สภาผู้แทนราษฎร ที่ ห้องประชุม 408 อาคารรัฐสภา โดย ดร.บุญลือ ประเสริฐโสภา เป็นประธาน เมื่อวันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 นั้น ปรากฏว่า ผู้เกี่ยวข้องกับกีฬามวยไทยทุกองค์กร และทุกฝ่าย ได้เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมหน้า ในโอกาสนี้ ดร.ศักดิ์ชาย ทัพสุวรรณ ได้ชี้แจงถึงกรณีที่ IFMA มีจดหมายถึงประเทศสมาชิกหลายประเทศ เพื่อให้ควบคุมดูแลเกี่ยวกับกรณีที่มีคณะบุคคลในประเทศนั้น พยายามดำเนินการจัดตั้งสมาคมหรือสหพันธ์มวยไทยแห่งชาติขึ้นมา ซ้ำซ้อนกับองค์กรมวยไทยที่เป็นสมาชิก IFMA ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้นและไม่สามารถได้รับการรับรองจาก IFMA หรือ IOC ได้ เพราะหนึ่งประเทศ จะมีเพียงหนึ่งสหพันธ์หรือหนึ่งสมาคมฯ เท่านั้น ที่เป็นสมาชิกของ IFMA ได้ ซึ่งในหนังสือดังกล่าว ได้พูดถึงข้อบังคับ IFMA ที่ IOC จดทะเบียนรับรองแล้วโดยระบุว่ามวยไทยหมายถึง มวยไทยโบราณ มวยทะเลหรือมวย หรือกิจกรรมการแข่งขัน ที่มีลักษณะรูปแบบเหมือนมวยไทย ซึ่งข้อความดังกล่าวถูกองค์กรกีฬามวยไทยและคณะบุคคลในประเทศไทยคัดค้านและโจมตีว่า IFMA มีเป้าหมายที่จะยึดมวยไทยเป็นของตัวเอง ซึ่งดร.ศักดิ์ชายกล่าวว่า เมื่อตรวจสอบกันอย่างละเอียดแล้ว ทุกถ้อยคำไม่มีประโยคใดที่หมายถึงการยึดคลองมวยไทยแต่อย่างใด ปัญหาที่เกิดขึ้นน่าจะมาจากความคลาดเคลื่อนในการแปลความหมาย

ในขณะเดี่ยวกันดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย ได้ให้การสนับสนุน คำชี้แจงของดร.ศักดิ์ชาย โดยแจ้งต่อที่ประชุมว่า ได้ตรวจสอบข้อความภาษาอังกฤษแล้วเป็นไปตามที่ดร.ศักดิ์ชายชี้แจง
สำหรับMr. Stephan Fox เลขาธิการ IFMA ได้ยืนยันเจตนารมณ์ ในการเสนอข้อบังคับเข้าสู่การรับรอง IOC ว่าได้คำนึงถึงความเป้ามาและรากเหง้าของมวยไทยเป็นสำคัญ นอกจากนั้นวัฒนะธรรม ประเพณีเกี่ยวกับมวยไทย ที่กลายเป็นมรดกอันล้ำค่าของมวยไทยในขณะนี้ ก็เป็นสิ่งที่ IFMA จะต้องให้ความเคารพ จึงเสนอให้ IOC รับรองอันจะนำมาซึ่งเกรียติภูมิของประเทศไทยโดยตรง

ส่วนประเด็นที่สมาคมกีฬามวยอาชีพได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการแต่งตั้งขณะกรรมส่งเสริมยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนมวยไทยสู่โอลิมปิกส์ 2024 นั้น สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ โดย ดร.ก้องด แถลงต่อที่ประชุมว่ายินดีให้ผู้แทนหรือนายกสามาคมกีฬามวยอาชีพเข้ามาเป็นกรรมการด้วย
สำหรับกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ IFMA ว่ามีแผนที่จะยึกมวยไทยเป็นของตัวเองนั้น ดร. บุญลือ ประเสริฐโสภา ประธานที่ประชุมได้สรุปว่า กระทรวงวัฒนธรรมได้ขึ้นทะเบียนมวยไทยเป็นมรดก ภูมิปัญญาศิลปวัฒนธรรมของชาติไว้ ตั้งแต่ปี 2553 ซึ่งหมายความว่า ไม่มีใครสามารถมาเป็นเจ้าของมวยไทยได้นอกจากประเทศไทย
สรุปผลการประชุมก็คือ ทั้งฝ่ายสมาคมกีฬามวยอาชีพและมวยไทยสมัครเล่น สามารถทำความเข้าใจและเป็นมิตรกันได้ และพร้อมที่จะทำMOU ร่วมกัน เพื่อผลักดันมวยไทยสู่ประชาคมโลกและโอลิมปิกเกมส์

สำหรับสาระสำคัญใน MOU หรือบันทึกข้อตกลงร่วมกัน ประกอบด้วย1. เพื่อร่วมมือกันกำหนดนโยบายในการพัฒนาและป้องกันอันตราต่อเด็ก และเยาวชน 2. เพื่อร่วมมือกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายในการป้องกันเกี่ยวกับ สุขภาพและสวัสดิภาพของนักกีฬามวย โดยการยึดมั่นในการตรวจเลือด และสิ่ง อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและสวัสดิภาพ 3. เพื่อร่วมมือกันกำหนดยุทธศาสตร์การส่งเสริมอาชีพของนักกีฬา มวยไทยในช่วงการชกมวยและภายหลังการเลิกชกมวย 4. เพื่อร่วมมือกันในการให้ความรู้เรื่องการป้องกันการใช้สารต้องห้าม ในช่วงก่อนและขณะการแข่งขัน ที่ดำเนินการภายใต้สหพันธ์กีฬานานาชาติของ กีฬามวยไทยที่เป็นผู้ได้รับอำนาจเต็มจาก WADA 5. เพื่อร่วมมือกันในการป้องกัน ส่งเสริม วัฒนธรรม และประเพณี อันเป็น รากฐานสำคัญของมวยไทยไม่ว่าจะเป็นไปในรูปแบบของการแสดงหรือการ แข่งขัน โดยเฉพาะในเรื่องดนตรี ปี่ มวย และการไหว้ครู6. ให้ความร่วมมือกับองค์กรกีฬานานาชาติที่ได้รับการรับรองโดย IOC และ OCA เพื่อแสดงให้เกิดความมั่นใจต่อการจัดการแข่งขันมวยไทยในรายการที่ คณะกรรมการโอลิมปิกสากลให้การรับรอง7. เพื่อร่วมมือกันในการส่งเสริมขบวนการป้องกันการใช้สารต้องห้ามใน การจัดการแข่งขันระดับนานาชาติที่จัดขึ้นในประเทศไทย

อนึ่งในการประชุม United Thought to Muaythai Conference ซึ่งหมายถึงการรวมพลังเป็นหนึ่งเพื่อมวยไทยสู่ประชาคมโลกและโอลิมปิก ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 นั้น ดร.บุญลือ ประเสริฐโสภา ได้ให้เกียรติไปเป็นประธานและกล่าวเปิดการประชุมด้วย โดยในการประชุมดังกล่าว มีผู้เข้าร่วมรับฟังมากกว่า 150 คน สำหรับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่ร่วมให้ข้อมูลในการประชุมประกอบด้วย ผู้แทนสหประชาชาติ (UNESCO) ผู้แทน IOC และผู้แทน IFMA
นอกจากนั้นก่อนการประชุมจะเริ่มขึ้น ได้มีการจัดพิธีบวงสรวงสมเด็จพระเจ้าเสือ “พระมหากษัตริย์นักมวย” เนื่องในวันมวยไทย (Muaythai Day) ด้วย ในการนี้ ประธานคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้ให้เกียรติโปรยดอกไม้สักการะ ก่อนจะปิดพิธีบวงสรวง