คินเซนทริค แถลงข่าวเปิดตัวโครงการค้นหาสุดยอดนายจ้างดีเด่นของคินเซนทริค ประจำปี2565 Kincentric Best Employers Thailand Press Conference 2022  

 คินเซนทริค บริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลชั้นนำของโลก มีการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ ทั้ง Ai, Robot และ Digital Platform โดยยึด “คน” เป็นศูนย์กลางของการ Transformation เพราะทุกคนคือคุณค่าขององค์กร ร่วมกับสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการค้นหาสุดยอดนายจ้างดีเด่นประจำปี 2565 (Kincentric Best Employer Thailand 2022)  ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 22 ในประเทศไทย เผยภาพรวมและคุณค่าที่ได้รับจากการเข้าร่วมการประกวดสุดยอดองค์กรนายจ้างดีเด่น ประจำประเทศไทย ปี 2565  

 กรุงเทพมหานครฯ มีนาคม  บริษัท คินเซนทริคและสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศความร่วมมือ การประกวดสุดยอดองค์กรนายจ้างดีเด่นที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด ซึ่งครอบคลุม 14 ประเทศ ทั่วภูมิภาคเอเชีย และตะวันออกกลาง รวมถึงมีการจัดประกวดโครงการดังกล่าวทั่วโลก ทั้งทวีปอเมริกาเหนือ ลาตินอเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ แอฟริกาใต้สะฮารา ในปีนี้ทางบริษัทได้มีการจัดประกวดต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 22 โดย คินเซนทริค เป็นผู้นำธุรกิจระดับโลกในเรื่องการให้คำปรึกษาด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ เป็นสถาบันการศึกษาระดับสากลในประเทศไทยที่เชี่ยวชาญในสาขาบริหารธุรกิจ และบริหารทรัพยากรบุคคล

 โดยมี ดร. อดิศักดิ์  จันทรประภาเลิศ กรรมการผู้จัดการบริษัท คินเซนทริคประเทศไทย กล่าวเปิดงานและนำเสนอผลสำรวจจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารของหลายองค์กร และข้อมูลเชิงลึกด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลในโลก ที่ต้องมีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว (Agility) จากการประกวดสุดยอดองค์กรนายจ้างดีเด่น ในปี 2564  พบว่า  หลายองค์กรได้ออกแบบ Business Model ใหม่ ๆ ให้สามารถแข่งขันในธุรกิจได้ มีการจัดสรรกำลังคนที่เหมาะสม และเน้นนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาปรับใช้เพื่อลดช่องว่างและประสานความร่วมมือระหว่างสายงาน ทั้งนี้ โดยรวมสามารถสร้างความผูกพันกับพนักงานถือว่าทำได้ดีมาก มีการสร้างขวัญกำลังใจให้พนักงาน และการสร้างวัฒนธรรมในองค์กร ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ที่สำคัญรวมถึงการลงทุนในการสร้างการเรียนรู้และสร้างการเติบโต

 นอกจากนี้ สิ่งที่พบในองค์กรที่เป็น The Best Employers มี 5 แนวทางในการปฏิบัติที่ดี ประกอบด้วย 1.การสื่อสารที่โปร่งใสเพื่อให้พนักงานมีความเข้าใจตรงกัน 2.องค์กรมีการพัฒนาและหาประสบการณ์ความเป็นเลิศ 3.องค์กรพยายามมองหายุทธศาสตร์เพื่อปรับตัว 4. Flexible Workplace เพื่อตอบโจทย์ Hybrid Workplace และ 5. วางแผนอัตรากำลังคนทั้งระยะกลางและระยะยาว

 สำหรับเทรนด์การบริหารทรัพยากรบุคคลในปี 2565  มี 9 เรื่องที่สำคัญ ได้แก่ 1.การดูแลการบริหารจัดการคนเก่ง 2. การกำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อคัดกรองคนเก่งให้เข้าทำงาน 3.ทบทวนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ 4.หลายองค์กรเริ่มลดช่องว่างและประสานความร่วมมือระหว่างสายงาน และให้ผู้บริหารเข้ามามีส่วนร่วมกับพนักงาน เพื่อขับเคลื่อนผลิตผลให้มากขึ้น 5.หาเทคโนโลยีมาจัดการเพื่อรับฟังพนักงานให้มากขึ้น 6.วางแผนผู้สืบทอดตำแหน่งให้ลึกขึ้น 7.วางแผนเส้นทางอาชีพรองรับโอกาสการเติบโตของพนักงาน 8.ลงทุน Diversity Equity และ Inclusion และ 9.เพิ่มส่วนงาน HR โดยใช้เทคโนโลยีในการ Transform

 ภายในงานเปิดตัวโครงการ ได้รับเกียรติจาก Prof. Dr. Ian Fenwick ผู้อำนวยการสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกล่าวเปิดงาน และเล่าให้ฟังถึงการสร้างสมดุลย์ในการปรับตัว เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลากับการพัฒนาองค์กร ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ทั้งยังเต็มอิ่มไปกับการอภิปรายหมู่ถึงแนวทาง “การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับพนักงาน” ที่จะเปลี่ยนโลกการทำงาน (The Future of Employee eXperience) โดยมีคุณมลฑนา พรปัญญาเลิศ รองผู้อำนวยการด้านบริหารสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดำเนินรายการ ร่วมกับรองศาสตราจารย์ ดร.ชัยพงษ์ พงษ์พานิช รองผู้อำนวยการ ด้านวิชาการ และ คุณเอย่า เสวนสัน ที่ปรึกษาอาวุโสและผู้จัดการสายงานด้านการประเมินและพัฒนาผู้นำองค์กร บริษัท คินเซนทริค (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมแบ่งปันเคล็ดลับ

 ดร.ชัยพงษ์ พงษ์พานิช รองผู้อำนวยการ ด้านวิชาการ คินเซนทริคประเทศไทย กล่าวในเวทีอภิปรายว่า ผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงยืดเยื้อและยาวนาน เสมือนเป็นสนามทดลองที่ใหญ่ที่สุดในโลกในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคน จากที่ไม่เคยใช้โปรแกรมประชุมออนไลน์ ก็ต้องเรียนรู้ที่จะใช้ เพื่อให้องค์กรทำงานต่อไปได้ ขณะเดียวกัน Mindset ของคนเปลี่ยนแปลงไปด้วย ซึ่งส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์กรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน ทำให้องค์กรจะใช้วิธีการเดิม ๆ มาบริหารจัดการคนคงไม่ได้อีกต่อไปแล้ว  โดยจะต้องมีกลไกในการทำงานบนโลกออนไลน์ที่แตกต่างกว่าเดิม  เช่น เรื่องของ Metaverse สำหรับการทำงานในอนาคต

 คุณเอย่า เสวนสัน ที่ปรึกษาอาวุโสและผู้จัดการสายงานด้านการประเมินและพัฒนาผู้นำองค์กร คินเซนทริคประเทศไทย กล่าวว่า ผลกระทบจากสถานการณ์โควิด -19 สิ่งที่เกิดขึ้นคือ มีการลาออกของพนักงานจำนวนมาก หลายคนจากที่เคยเป็นนายจ้างต้องมาเป็นลูกจ้างแทน  ขณะที่บางองค์กรไม่มีการจ้างพนักงานมาทดแทนใหม่ อย่างไรก็ตามในโลกของการทำงานในปัจจุบันที่ความคิดของคนเปลี่ยนไป ทำให้องค์กรต้องตั้งคำถามถึงคุณค่าและความสำคัญของคนทำงานว่ามีคุณภาพชีวิตเป็นอย่างไร เช่น การมีเวลาให้กับครอบครัว มีเวลาในการทำสิ่งที่ชอบ 

 โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นโอกาสให้คนรุ่นใหม่มีทางเลือกในการทำงานมากขึ้น บางคนสามารถหารายได้จาก E- Commerce หรือแม้แต่การเล่นเกมเพื่อหารายได้ การลงทุนในคริปโทเคอร์เรนซี สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ มาเติมเต็มความสุข และปัจจุบันดูเหมือนว่าพนักงานจะถือไผ่ที่เหนือกว่า เพราะหลายคนเหนื่อยล้ามาร่วม 2 ปี อาจจะทบทวนตัวเองใหม่ ทำให้ผู้บริหารองค์กรต้องปรับตัวเพื่อสรรหาคนใหม่มาทดแทน หรือไม่อาจจะต้องมีความยืดหยุ่น หากพนักงานไม่กลับมาทำงาน เช่น อาจจะให้มีการทำงานที่บ้านต่อไปเพื่อเป็นทางเลือก เพราะมีประสิทธิภาพเหมือนกัน

 นอกจากนี้ คุณนลิน เตชะสกุลสิน ที่ปรึกษา คินเซนทริคประเทศไทยยังร่วมการอภิปราย ภายใต้หัวข้อ “Employee eXperience in the Changing World” โดยเล่าถึงความสำคัญของ Employee eXperience ความเชื่อมโยงระหว่างการสร้างประสบการณ์ของพนักงานและความผูกพันกับองค์กร การปรับตัวขององค์กรและคนทำงานผ่านช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง โดยเป็นการแชร์ประสบการณ์จริงจากองค์กรสุดยอดนายจ้างดีเด่น 3 องค์กร ได้แก่ คุณอภิรักษ์ วาราชนนท์ Chief People Officer – People Support Center, Major Cineplex Group Plc. (องค์กรสุดยอดนายจ้างดีเด่นประจำปี 2561), คุณอครินทร์ ภูรีสิทธิ์ Head of People Group and Acting Digital Transformation ในเครือเซ็นทรัลพัฒนา (องค์กรสุดยอดนายจ้างดีเด่นประจำปี 2564), คุณบุปผาวดี โอวรารินท์ Chief People and Brand & Communications Officer, Krungthai-AXA Life Insurance PCL (องค์กรสุดยอดนายจ้างดีเด่นประจำปี 2563-2564) ร่วมเสวนาในประเด็นของการปรับตัวของธุรกิจให้อยู่รอดในยุค New Normal ความแตกต่างของการดูแล

 รวมทั้ง ความผูกพันพนักงานระหว่างยุคก่อนการระบาดของโควิด-19 กับยุคปัจจุบัน วิธีการปรับองค์กรเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่พนักงาน (Employee eXperience) อย่างต่อเนื่อง รวมถึงให้แนวคิดถึงการเตรียมตัวและสิ่งที่ได้รับจากการได้รับรางวัลองค์กรสุดยอดนายจ้างดีเด่นจากการประกวดสุดยอดองค์กรนายจ้างดีเด่นในปีที่ผ่านมา พบว่า กลุ่มองค์กรที่ได้เป็นสุดยอดนายจ้างดีเด่น มีคะแนนความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรร้อยละ 87 โดยเฉลี่ย ซึ่งมากกว่าองค์กรทั่วไปที่มีผลคะแนนความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรอยู่ที่ร้อยละ 70 โดยเฉลี่ย ซึ่งองค์กรสุดยอดนายจ้างดีเด่นมีการสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่พนักงานในมิติต่าง ๆ ที่เป็นเลิศกว่าองค์กรทั่วไป ทั้งในมิติด้านความคล่องตัวขององค์กร (Agility) มิติด้านผู้นำองค์กร (Engaging Leader) และมิติด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล (Talent Focus)

  คุณบุปผาวดี โอวรารินท์ Chief People and Brand & Communications Officer, Krungthai-AXA Life Insurance PCL กล่าวว่า ในช่วงวิกฤตโควิด-19 บางองค์กรต้องปิดตัวแต่ทางกรุงศรีมองว่าคนยังเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนให้กับองค์กร โดยสิ่งแรกเราให้ความสำคัญกับความรู้สึกของพนักงาน ให้เขามีความปลอดภัยในการทำงาน ทั้งการจัดหาโรงพยาบาลและการจัดหาวัคซีน รวมทั้งให้พนักงานทำงานที่บ้านได้ กำหนดให้เป็นนโยบาย Smart Working คนไหนที่เครื่องมือไม่พอ เรามีการจัดหาคอมพิวเตอร์ไปติดตั้งที่บ้านของพนักงาน เพื่อให้ทำงานได้ทันที หรือแม้แต่ระบบ Call Center เพื่อให้พนักงาน Work from home 100 %  รวมทั้ง เรื่องของการตรวจสุขภาพของพนักงานประจำปี ให้มีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ เช่น การทดสอบพฤติกรรมการนอน การรับประทานอาหารของพนักงาน เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างครอบครัวและตัวพนักงาน การปรับเปลี่ยนดังกล่าว ทำให้กรุงไทยมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก

 คุณอครินทร์ ภูรีสิทธิ์ Head of People Group and Acting Digital Transformation ในเครือเซ็นทรัลพัฒนา กล่าวว่า ธุรกิจช้อปปิ้งเซ็นเตอร์แบบเดิมไม่ตอบโจทย์ลูกค้าแล้วในปัจจุบัน เรามองเห็นเทรนด์นี้มาแล้วหลายปี  และได้ปรับตัวตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว  โดยวางธุรกิจตัวเองเป็น Center of Live ให้บริการทั้งท่องเที่ยว โรงแรม และศูนย์ประชุม แต่เมื่อเกิดสถานการณ์โควิด-19 เรามองเห็นพลังของคนในประเทศที่ร่วมกันเพื่อให้ประเทศอยู่รอด แต่เป็นพลังในทางลบ การขับเคลื่อนองค์กรในปัจจุบัน ก็ต้องมาคิดใหม่ว่าอะไรคือสิ่งที่ทำให้คนอยากกลับมาทำงาน ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน หรือคู่ค้า และร้านค้าที่เคยอยู่กับเรา เป้าหมายทำอย่างไรให้ธุรกิจเติบโตไปด้วยกัน

ทั้งนี้เพราะ เทรนด์หนึ่งที่เรามองเห็นคือ  คนไม่ต้องการทำงานหาเงินอย่างเดียว มุมหนึ่งชีวิตคนทำงานต้องมีความสมดุล จึงต้องมีกลไกความร่วมมือและการเป็นพันธมิตร  ร้านค้าที่อยู่ในห้างสามารถที่จะรับข้อมูลข่าวสารโดยตรง จากผู้บริหาร ห้างเองก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสื่อสารกับคนในองค์กรมีการเปิดโอกาสได้สอบถาม และปัจจุบันทางเซ็นทรัลมีการพัฒนา Connect Live เพื่อสื่อสารกับพนักงาน ในสัดส่วน 50-60%  ถือว่ามีส่วนทำให้วัฒนธรรมองค์กรเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นมาก  

คุณอภิรักษ์ วาราชนนท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กล่าวว่า สถานการณ์โควิด-19 มีผลกระทบอย่างมาก เนื่องจากโรงหนังเป็นธุรกิจแรกที่โดนปิดกิจการยาวถึง 6 เดือน และเป็นธุรกิจที่อยู่ในอันดับสุดท้ายที่รัฐบาลให้เปิดกิจการ ด้วยผลกระทบที่เกิดขึ้นดังกล่าวทำให้ต้องดำเนินการหลายอย่างทั้งเรื่องของการบริหารต้นทุน ลดค่าใช้จ่าย บริหารสภาพคล่อง, จัดการคน และมองหาช่องทางใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นนำข้าวโพดคั่ว (Popcorn) ขึ้นไปขายบนออนไลน์ ทั้งบนลาซาด้าและ Shopee และช่องทางโมเดิร์น
เทรด ทำให้เริ่มมีรายได้เข้ามา รวมทั้งการจัดตั้งค่ายหนังของตัวเอง โดยตั้งเป้าผลิตภาพยนต์ปีละ 20 เรื่อง เพราะหนังฮอลลีวูดถูกเลือนตารางหมด  เมเจอร์ค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเข้าสู่โลกดิจิทัลเพื่อให้ธุรกิจไปต่อได้อนาคตเพราะมิเช่นนั้นเมเจอร์จะถูกดิสทรัปชั่นไปด้วย

คุณปอลิน ปอแก้ว ผู้จัดการโครงการประกวดสุดยอดองค์กรนายจ้างดีเด่น ประจำปี 2565 ได้อธิบายเพิ่มเติมถึงรายละเอียดว่า การประกวดสุดยอดนายจ้างดีเด่น เป็นการสำรวจผ่านเครื่องมือและกระบวนการสำรวจมาตรฐานของคินเซนทริคที่ใช้เหมือนกันทุกบริษัทที่เข้าร่วมโครงการทุกภูมิภาคทั่วโลก โดยเป็นการเก็บข้อมูลเชิงลึกจากองค์กรผ่าน 3 แหล่งข้อมูล คือ 1) การสำรวจความคิดเห็นของพนักงานผ่าน 4 มิติหลัก ได้แก่ ความผูกพันของพนักงาน (Employee Opinion Survey) ความคล่องตัวขององค์กร (Agility) ผู้นำองค์กร (Engaging Leader) และการบริหารทรัพยากรบุคคล (Talent Focus) 2) การประเมินประสิทธิภาพของงานทรัพยากรบุคคลผ่านเครื่องมือ People Practices Index โดยใช้ Maturity Model และ 3) การสำรวจมุมมองของผู้บริหารสูงสุดขององค์กรด้านกลยุทธ์องค์กร รวมถึงกลยุทธ์และแนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อขับเคลื่อนองค์กร

สำหรับการสมัครเข้าร่วมโครงการสุดยอดนายจ้างดีเด่นประจำปี 2565 องค์กรที่สนใจสามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมโครงการค้นหาสุดยอดนายจ้างดีเด่นประจำปี 2565 ได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 โดยจะมีการเก็บข้อมูลจนถึงวันที่ 26 สิงหาคม 2565 นี้

โดยในปีที่ผ่านมา มีทั้งหมด 14 องค์กรสุดยอดนายจ้างที่ได้รับรางวัลสุดยอดนายจ้างดีเด่นแห่งประเทศไทยประจำปี 2564  ได้แก่

  1. บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)
  2. บริษัทในกลุ่มเซ็นทรัลมาร์เก็ตติ้งกรุ๊ป
  3. บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)
  4. บริษัท ซีอาร์ซี ไทวัสดุ จำกัด
  5. บริษัท ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด
  6. บริษัท ไฮเวย์ จำกัด (บริษัทในกลุ่มทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป)
  7. บริษัท อีซูซุอันดามันเซลส์ จำกัด
  8. บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
  9. การไฟฟ้านครหลวง
  10. บริษัท ศิครินทร์ จำกัด (มหาชน)
  11. บริษัท ไทย อีทอกซีเลท จำกัด
  12. บริษัท ไทยโพลิเอททีลีน จำกัด
  13. บริษัท เดอะวัน เซ็นทรัล จำกัด
  14. บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

You May Also Like

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *