เดินหน้า 2562 กระตุ้นศักยภาพผู้ประกอบการ ยกระดับความเป็นสากล

เดินหน้า 2562 กระตุ้นศักยภาพผู้ประกอบการ ยกระดับความเป็นสากล


สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) เผยแผนทิศทางปี 2562 โดยมุ่งเน้นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการให้เข้าถึงระบบความเป็นมาตรฐาน พร้อมต่อยอดเพื่อให้ได้รับการรับรองเป็นที่ยอมรับของสากล รวมทั้งสนับสนุนกิจกรรมการตลาดต่างประเทศ เพื่อยกระดับให้ผู้ประกอบการกลุ่มที่มีศักยภาพก้าวไปสู่สากล พร้อมผลักดันให้ความรู้ด้านการบัญชีเงิน และใช้บัญชีเดียวในการทำธุรกิจ
นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า ในช่วงเวลาที่ผ่านมา สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้ดำเนินการสนับสนุนผู้ประกอบการ SME โดยจัดแบ่งกลุ่มผู้ประกอบการออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มผู้ประกอบการใหม่ (SME Startup) กลุ่มผู้ประกอบการระยะพลิกฟื้นกิจการ (Turn around) และกลุ่มผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ (SME Strong/Regular) ซึ่งจากฐานข้อมูลของผู้ประกอบการ SME พบว่ากลุ่มผู้ประกอบการ Strong/Regular ที่ขึ้นทะเบียนเป็นนิติบุคคลมีกว่า 600,000 ราย ในจำนวนนี้ 400,000 รายมีสถานะทางบัญชีปกติ นอกจากนี้ยังพบผู้ประกอบการประเภทบุคคลธรรมดา ที่มีศักยภาพสามารถจัดอยู่ในกลุ่ม Regular ที่จะพัฒนายกระดับสู่การเป็น นิติบุคคลจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มอาหารและเกษตรแปรรูป กลุ่มแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ กลุ่มบริการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และความงาม กลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้าง และกลุ่มอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ ที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ GDP ของประเทศ


ด้วยเหตุนี้ในปี 2562 สสว.จึงเห็นควรส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการโดยเฉพาะกลุ่มทั่วไป (Regular) โดยจัดโปรแกรมการสนับสนุนในด้านที่มีประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ เช่น 1.การเสริมสร้างสมรรถนะด้านบัญชี โดยให้คำปรึกษาการทำบัญชีได้อย่างถูกต้อง และสามารถใช้ข้อมูลทางบัญชีมากำหนดแผน/แนวทางการบริหารจัดการธุรกิจได้ 2.การจัดการฐานข้อมูลสินค้า โดยนำบาร์โค้ดระบบมาตรฐาน GS1 มาใช้ในการบริหารจัดการสินค้า เพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าสู่สากล 3.การให้คำปรึกษาเชิงลึกเฉพาะด้าน เช่น การสร้างแบรนด์ การสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้า การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การปรับกระบวนการผลิตสินค้า หรือบริการ โดยอาศัยเทคโลยีหรือนวัตกรรม ด้านบริหารจัดการ ด้านการตลาด 4. การต่อยอดการให้คำปรึกษาเชิงลึก เพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับมาตรฐานต่าง ๆ เช่น มาตรฐานใบไม้เขียว หรือ อย. หรือ ISO 5.การส่งเสริมและสนับสนุนด้านการตลาดเพื่อสร้างยอดขายให้แก่ผู้ประกอบการ จากกิจกรรมการตลาดทั้งการแสดงสินค้าหรือจำหน่ายสินค้า หรือเจรจาธุรกิจ ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ ไปจนถึง 6.การส่งเสริมและสนับสนุนด้านอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ เพื่อช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ หรือ ลดต้นทุน หรือเพิ่มประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ สสว.จะจำแนกกลุ่มผู้ประกอบการที่สมัครเข้าร่วมโครงการจากข้อมูลประเมินตนเอง (Self Assessment) หรือการวินิจฉัย /Coaching หรืออื่น ๆ เพื่อจัดแนวทางการให้คำปรึกษาและจัดโปรแกรมการให้ความรู้ผ่านการอบรม หรือ Workshop ในด้านต่าง ๆ ที่เหมาะสม เช่น มาตรฐานการบริหารจัดการธุรกิจตามแนวทาง Thailand Quality Awards (TQA) การลดต้นทุนในการประกอบธุรกิจ โดยเบื้องต้นมีเป้าหมายว่า ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรมการวินิจฉัยและประเมินตนเองจะมีอย่างน้อย 9,550 ราย และมีผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมสร้างสมรรถนะผู้ประกอบการเชิงลึก 2,850 กิจการ ซึ่งผลลัพท์หวังว่าผู้ประกอบการ 20 เปอร์เซ็นต์ จะมีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ หรือมีมาตรฐานในด้านต่าง ๆ ไม่ว่า สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าหรือการบริการ ลดต้นทุนการประกอบธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้า หรือการให้บริการ หรือกระทั่งผู้ประกอบการได้รับมาตรฐาน หรือใบรับรองต่าง ๆ


นายสุวรรณชัยมองว่า การเข้าไปให้ความรู้ทางด้านการบริหารจัดการ การตลาด การผลิต การเงิน และให้ปรึกษาแนะนำเชิงลึกโดยการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้สูงขึ้น สร้างให้เกิดมาตรฐานและคุณภาพในกระบวนการผลิต พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความสร้างสรรค์ รวมทั้งต่อยอดจนสามารถได้รับมาตรฐานสินค้าและบริการที่เป็นรูปธรรม เน้นกลุ่มอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ GDP ของประเทศ เช่น กลุ่มอาหารและเกษตรแปรรูป กลุ่มแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ กลุ่มบริการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกลุ่มท่องเที่ยวรายได้สูง กลุ่มสปาและความงาม กลุ่มอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งจะสอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริม SME ตามนโยบายรัฐบาล และพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ SME ซึ่งเป็นภารกิจหลักของ สสว.
ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2559 ถึง 2561 มองว่าการดำเนินโครงการประสบความสำเร็จ ผู้ประกอบการได้รับความรู้จากการเข้าร่วมอบรมเฉพาะด้าน กว่า 30,000 ราย ผู้ประกอบการได้รับการพัฒนาเชิงลึกเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันในด้านต่าง ๆ 10,000 กิจการ อาทิ ลดต้นทุนจากกระบวนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ 5,200 กิจการ พี่เลี้ยงในการจัดทำบัญชีสำหรับ SMEs 1,200 กิจการ ได้รับการสนับสนุนการตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ เพื่อประกอบการการออกใบรับรองมาตรฐาน 3,500 กิจการ ได้รับการผลักดันให้เข้าสู่ระบบภาษี (จดทะเบียนนิติบุคคล) 100 กิจการ ต่อยอดให้ผู้ประกอบการได้รับใบรับรองมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของสากล เช่น ISO, GMP, อย. 200 กิจการ

You May Also Like

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *