GC สตาร์ทงาน WASTE RUNNER 100 DAYS CHALLENGE ร้อยวัน รันวงการขยะร่วมกับโครงการ OUR Khung BangKachao ดึงคนรุ่นใหม่ ประชาชนทั่วไป สร้างผลงานระดับประเทศ โมเดลต้นแบบจัดการขยะ ทั้งขยะพลาสติกและขยะออร์แกนิค ในพื้นที่คุ้งบางกระเจ้าเปิดรับสมัครผู้ร่วมแข่งขันตั้งแต่วันนี้-31 พฤษภาคม 62
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ GC ร่วมกับโครงการ OUR Khung BangKachao เปิดการแข่งขัน WASTE RUNNER 100 DAYS CHALLENGE ร้อยวัน รันวงการขยะ เพื่อสร้างโมเดลจัดการขยะในประเทศไทย ผ่านชุมชนต้นแบบคุ้งบางกระเจ้าตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy เพื่อเฟ้นหาผู้ที่สนใจในการเข้าร่วมโครงการแก้ปัญหาขยะ ผ่านการแข่งขัน 100 วัน โดยโมเดลการจัดการขยะจะเน้นไปทั้งขยะพลาสติกและขยะออร์แกนิค เพื่อนำไปสู่การต่อยอดให้เกิดธุรกิจต้นแบบด้านการจัดการขยะในพื้นที่ชุมชนอื่นๆ
GC มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ด้วยความรับผิดชอบให้ความสำคัญในการตระหนักรู้ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาขยะในประเทศให้เกิดความยั่งยืน ซึ่ง GC มองปัญหาขยะเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน จากหลายฝ่ายโดยการเริ่มต้นจากภาคประชาชน ชุมชน ภาคเอกชนแลภาครัฐ โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี และการนำขยะไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดผ่านกระบวนการรีไซเคิลหรืออัพไซเคิล ซึ่ง GC ได้ลงมือทำอย่างจริงจัง
“GC ได้พิสูจน์เห็นว่า ขยะพลาสติกสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ และ GC จะทำให้จริงจังมากยิ่งขึ้น โดยการลงทุนในโรงงานรีไซเคิล ซึ่งจะเป็นโรงงานที่มีมาตรฐานระดับยุโรปและดีที่สุดในประเทศไทย เป็นการนำขยะพลาสติกมารีไซเคิล ตามกระบวนการ และนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ ให้มั่นใจเลยว่าพลาสติกมีประโยชน์ อย่าให้เขาเป็นผู้ร้าย โดยการคัดแยกขยะให้ถูกวิธี และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ นับจากนี้ไปอีกประมาณ 1ปีครึ่ง เราจะได้เห็นโรงงานรีไซเคิลต้นแบบที่ได้มาตรฐานระดับยุโรปอย่างที่ตั้งเป้าหมายไว้”
นางวราวรรณ ทิพพาวนิช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานกิจการองค์กร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC กล่าวว่า การจัดการแข่งขัน WASTE RUNNER 100 DAYS CHALLENGE ในครั้งนี้ เป็นโครงการนำร่องที่ชุมชนคุ้งบางกะเจ้า ซึ่ง GC ได้ร่วมมือกับคนรุ่นใหม่อย่างบริษัท แทคท์ โซเชียล คอนซัลติ้ง หรือ Tact โดยคาดหวังว่าจะเกิดความคิดสร้างสรรค์และเชื่อมโยงกับคนรุ่นใหม่ที่สนใจในการพัฒนา ซึ่งได้ร่วมมือกับนักวิชาการและนักธุรกิจด้านการจัดการขยะ เพื่อนำองค์ความรู้ด้านการจัดการขยะมาพัฒนาให้ผู้เข้าแข่งขันตลอดโครงการ และร่วมมือกับหลายหน่วยงานบ่มเพาะธุรกิจเริ่มต้น เพื่อส่งเสริมต่อยอดให้เกิดการลงทุนและสนับสนุนแนวคิดที่มีความเป็นไปได้ให้เกิดขึ้นได้จริง โดยโครงการที่ผ่านเข้ารอบ 3 ทีมสุดท้าย จะมีโอกาสได้ไปนำเสนอในงาน Circular Living Symposium 2019 -Upcycling our planet ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 28 มิถุนายนนี้อีกด้วย
นายชยุตม์ สกุลคู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แทคท์ โซเชียล คอนซัลติ้ง กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 100 วันของโครงการ เป็นการดึงศักยภาพของผู้เข้าแข่งขัน และทำการให้ทดลองในพื้นที่จริง เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชุมชน ผ่านแนวคิด “Design Thinking” เป็นแกนหลักในการออกแบบกิจกรรม ให้ผู้เข้าแข่งขันได้เข้าใจถึงปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของผู้เกี่ยวข้องในชุมชน เปิดพื้นที่ในการระดมความคิดผ่านการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ จนสามารถสร้างต้นแบบของโมเดลการจัดการขยะที่พร้อมดำเนินการในพื้นที่ชุมชนคุ้งบางกะเจ้า
สำหรับการแข่งขันในครั้งนี้ เปิดรับสมัครนักจัดการขยะ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่กำลังศึกษา พนักงานบริษัท สตาร์ทอัพ หรือผู้เชี่ยวชาญ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาขยะในประเทศไทย ด้วยการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เห็นผลจริงภายใน 100 วัน ตั้งแต่วันนี้จนถึงเดือนสิงหาคม 2562 โดยโมเดลการจัดการขยะจะเน้นทั้งขยะพลาสติกและขยะย่อยสลายได้นอกจากนี้ ตลอดทั้งโครงการ ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับการอบรมและพัฒนาโมเดลการจัดการขยะอย่างเข้มข้นผ่านแนวคิด Design Thinking ที่เน้นการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติในพื้นที่ชุมชน และจาก Mentor ผู้เชี่ยวชาญด้านชุมชนและด้านธุรกิจขยะสามารถดาวน์โหลดใบสมัครการแข่งขันได้ทาง https://www.wasterunnerchallenge.com ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2562