ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT จัดงาน “SACICT Craft Trend Talk” เชิญ Speakers วงการ Craft ระดับนานาชาติ ร่วมบรรยาย แลกเปลี่ยน และให้ทิศทางในการพัฒนางาน Craft ในมุมต่าง ๆ พร้อมเผยแพร่องค์ความรู้แนวโน้ม Craft Trend ของศักราชหน้าปี 2020 สอดรับกับตลาดไทยและตลาดโลก ตั้งเป้า ต่อยอดองค์ความรู้ในมิติใหม่ๆของวงการหัตถศิลป์ไทย ผลักดันให้หัตถกรรมกลายเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อน เศรษฐกิจและสังคม อย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน
นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT เผยว่า “การจัดงาน SACICT Craft Trend Talk มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ร่วมงานได้รับความรู้และสามารถต่อยอดความรู้และ แนวคิดต่าง ๆ จากผู้เชี่ยวชาญ ด้านงานหัตถศิลป์ระดับสากล เพื่อนำแนวความคิดมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางพัฒนา งานศิลปหัตกรรมในมิติใหม่ ๆ อย่างสร้างสรรค์และสร้างประโยชน์เชิงพาณิชย์อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม โดยไฮไลท์หลัก ของงานคือการรวมตัวของบรรดาผู้เชี่ยวชาญและมีชื่อเสียงในวงการ Craft ระดับนานาชาติ ที่มาร่วมแบ่งปันแนวคิด และข้อมูลแนวโน้มงานหัตถศิลป์ภายใต้ธีม “From Root to Route” หรือการสร้างสรรค์งานหัตถศิลป์จากรากฐานภูมิ ปัญญา เพื่อต่อยอดหนทางใหม่สู่สากล ซึ่งจากผลการวิจัยชี้ว่า “อัตลักษณ์ไทย” คือเรื่องราวที่เป็นรากของไทย มีทั้งความ สนุกสนาน ความหลากหลาย หรือเรื่องเล่าที่เปี่ยมด้วยคุณค่าแห่งภูมิปัญญา ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งที่ขายได้และเป็น ที่ต้องการในตลาดสากล ทั้งนี้ หัวข้อการบรรยายที่สำคัญในงาน นอกจากการเผยแพร่ข้อมูล Craft Trend 2020 ที่ SACICT ได้ทำการวิจัยแนวโน้มงานหัตถกรรมในศักราชหน้าแล้ว ยังเป็นการรวมตัวของผู้เชี่ยวชาญด้านงาน Crafts ที่เดินทางมาจากหลากหลายประเทศ เป็นการรวบรวมแนวคิดจากวัฒนธรรมที่แตกต่าง และความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ของ Speakers แต่ละคน ซึ่งแต่ละหัวข้อที่ผู้เชี่ยวชาญนำมาแบ่งปันล้วนเป็นประเด็นที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์เพื่อให้ ผู้ฟังได้เห็นและเข้าใจถึง Craft Trend ปี 2020 อย่างชัดเจน”
“ที่ผ่านมา SACICT ได้ดำเนินภารกิจในการส่งเสริมและพัฒนางานศิลปหัตถกรรมในหลากหลายมิติ มีการวิจัยแนวโน้มงานศิลปหัตถกรรมในอนาคต หรือ SACICT Craft Trend ซึ่งเป็นจุดตั้งต้นของการพัฒนางานศิลปหัตถกรรม ในแต่ละปี ซึ่งนอกจาก SACICT จะนำผลการวิจัยนี้ไปเผยแพร่สู่กลุ่มเป้าหมายและสาธารณชนในรูปต่าง ๆ หลายช่องทาง เช่น Booklet และ E-book Craft Trend งานสัมมนาต่างๆ และสื่อองค์ความรู้ต่าง ๆ แล้ว SACICT ยังนำผล การวิจัยไปพัฒนาและสร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมที่ตรงกับแนวโน้มความต้องการของตลาด และยังได้นำผลการวิจัย Craft Trend ในแต่ละปี ไปเป็นโจทย์ในการพัฒนางานด้านการออกแบบงานนวัตศิลป์ใหม่ ๆ ภายใต้โครงการประกวดต่าง ๆ อาทิ Innovative Craft Awards และ Craft The Future รวมถึงการนำไปใช้ในเป็นธีมในการจัดกิจกรรมทาง การตลาดให้สอดคล้องกับ Craft Trend ในแต่ละปี ซึ่ง Craft Trend ยังถูกนำไปใช้ในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเชิงบูรณาการ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน และเพื่อเป็นโจทย์ในการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ศิลป หัตถกรรม นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมในงานศิลปหัตถกรรม อันเป็นองค์ความรู้ใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของ ตลาดในปัจจุบัน โดยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ผลิต นักออกแบบ ที่คำนึงถึงความต้องการของกลุ่มผู้ซื้อเป็นหลัก เป็นการจุดประกายให้เกิดโอกาสใหม่ ๆ ที่สำคัญในการผลักดันให้อุตสาหกรรมหัตถศิลป์ไทยเข้าสู่ตลาดได้อย่างโดดเด่น และตรงตามความต้องการโดยเฉพาะตลาดโลก” นางอัมพวันกล่าว
“นอกจากนั้น Namhee Lee (นัมฮี ลี) หัวหน้าทีมวิจัยจากสถาบันวิจัยด้านแฟชั่นและข้อมูลการกระจายสินค้าแห่งชาติเกาหลี Chen Liang (เฉิน เหลียง) นักวิจัยของพิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัดยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน Alexander Lamont (อเล็กซานเดอร์ ลามอนต์ ผู้อำนวยการด้านการสร้างสรรค์แบรนด์ Alexander Lamont และ Rolf von Bueren (รอล์ฟ วอน บูเรน) ผู้สร้างสรรค์งานศิลป์ และนักสะสมงานศิลปะ เหล่าวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านงาน Craft แถวหน้าระดับสากลร่วมกันเผยว่า “ การจัดงานครั้งนี้ถือเป็นการทำให้งานศิลปหัตถกรรม มีโอกาสถูกเผยแพร่ออกไปได้มากขึ้น เพื่อให้ผู้ผลิตสินค้าหัตถศิลป์ได้รับทราบข้อมูล และแนวโน้มของงานหัตถศิลป์ ในตลาดโลกว่ากำลังเป็นไปในทิศทางใด ส่งผลให้ผลิตสินค้าได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น และเป็นการต่อยอดให้เกิดไอเดียที่แปลกใหม่ ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่แตกต่าง ทั้งนี้ งานหัตถศิลป์ไทยนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีเสน่ห์น่าดึงดูดในสายตาชาวต่างชาติเป็นทุนอยู่แล้ว การวิจัยครั้งนี้จึงเป็นเมืองสิ่งเสริมสร้างให้งานหัตถศิลป์ไทยมีความโดดเด่นมากขึ้น”
สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดตามได้ที่ Facebook : https://m.facebook.com/sacict/ หรือเว็บไซต์ https://www.sacict.or.th/th