ยอดเยี่ยม ! นศ.วิศวะฯ โยธา มวล. กวาด 3 รางวัล เวที I3SC’24

          นักศึกษาสาขาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กวาด 3 รางวัล จากการแข่งขัน International Stable and Sustainable Structure Competition 2024 จัดขึ้น ณ University of Malaysia Perlis, ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา

          โดยนักศึกษาทั้ง 3 ทีม สามารถคว้ารางวัลมาได้ ดังนี้

          1.รางวัลชนะเลิศ Champion of I3SC’24  จาก ทีม S.C.A.T 1 สมาชิกในทีม ได้แก่ นางสาวประภัสสร ฤทธิกรรณ์, นายอลงกรณ์ ประชุมรัตน์, นายทยากร บุญแก้ว และนายมูซิลฮีย์ สาแม

          2.รางวัล พิเศษ WAREG Special Award Top Sustainable Structure จากทีม G.O.A.T สมาชิกในทีม ได้แก่ นายอัซรอน มะลี, นายมูหัมหมัดนัศรี เขตนคร, นายฟีซัลฮัยดัร มามะ, นายนิตัสซีน นิเด และนางสาวอัยนูลมัดดียะห์ วาหลง

          และ 3. รางวัล พิเศษ JPS Special Award Supreme Aesthetic Design จาก ทีม S.C.A.T 2 สมาชิกในทีม ได้แก่ นางสาวทิพพาภรณ์ ทองเดช, นายวันวิลดาน แวยูโซะ, นายอาดัม เจ๊ะหะ และนายคงเดช บัวน้อย

          โดยทั้ง 3 ทีม มีรองศาสตราจารย์ ดร.ทนงศักดิ์ อิ่มใจ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

          การแข่งขัน International Stable and Sustainable Structure Competition 2024 หรือ I3SC เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาวิศวกรรมโยธาจากหลายประเทศ ได้ร่วมแสดงความสามารถในการออกแบบและสร้างโครงสร้างสะพานไม้ ที่มีความมั่นคงและยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์ในการแข่งขัน คือ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการคิดค้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่สามารถใช้ได้จริง ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีความยั่งยืนในอนาคต โดยปีนี้มีทีมเข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 22 ทีมจาก 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

          รองศาสตราจารย์ ดร.ทนงศักดิ์ อิ่มใจ เปิดเผยว่า ตนในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษา รู้สึกภาคภูมิใจและดีใจอย่างยิ่ง ที่นักศึกษาของเราได้มีโอกาสแสดงความสามารถ และได้รับรางวัลในการแข่งขันระดับนานาชาติครั้งนี้ ซึ่งนักศึกษาจะได้รับประโยชน์มากมายจากการเข้าร่วมการแข่งขัน เช่น การพัฒนาทักษะทางวิชาชีพ การทำงานเป็นทีม การแก้ปัญหา และการคิดวิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์ และผลงานที่นักศึกษาสร้างสรรค์ขึ้นไม่เพียงแค่มีความมั่นคงและยั่งยืน แต่ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีความยั่งยืน ซึ่งจะส่งผลดีต่อการพัฒนาเมืองและชุมชนในอนาคตอีกด้วย

You May Also Like

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *