คณะทูตผู้แทนเยาวชนเกษตรเข้าเยี่ยมชมประเทศไทยเพื่อร่วมส่งเสริมแลกเปลี่ยนการเกษตรระหว่างไต้หวันและไทย ในปี พ.ศ. 2567

เมื่อวันที่28 สิงหาคม 2567 คณะทูตเยาวชนเกษตร ประจำปี 2567 ได้เดินทางถึงกรุงเทพฯ ประเทศไทย เพื่อเยี่ยมชมศึกษาดูงานเป็นเวลา 6 วัน โดยมีกระทรวงต่างประเทศและกระทรวงเกษตรได้ร่วมกันจัดงานในครั้งนี้ ซึ่งเป็นแผนสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยน และร่วมมือกันระหว่างประเทศ ตามนโยบายใหม่ของรัฐบาล ซึ่งปีนี้ถือเป็นปีที่ 5 ที่ได้จัดกิจกรรมนี้ขึ้น นอกจากมีตัวแทนจากกระทรวงเกษตรแล้ว ยังมีนักศึกษาดีเด่นจากไต้หวันและเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรออแกนิคจำนวน 12 คนร่วมเดินทางมาในครั้งนี้ด้วย ซึ่งเชี่ยวชาญทั้งการปลูกพืชอินทรีย์ การปลูกผักและผลไม้ การทำสวนดอกไม้ การเลี้ยงสัตว์และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

โดยหลังจากที่คณะเดินทางมาถึงไทยวันที่ 26 ส.ค. ที่ผ่านมาก็เริ่มเดินทางไปเยี่ยมเยือนหัวหน้าฝ่ายการเมืองของสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปประจำประเทศไทย คุณโจว เจียรุ่ย ซึ่งท่านได้ร่วมชื่นชมต่อวิชาการชีพของเหล่าสมาชิก และหวังว่าพวกเขาจะได้มีโอกาสใหม่ๆ จากการศึกษาดูงานในครั้งนี้ และสามารถนำความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านการเกษตรของพวกเขามาแลกเปลี่ยนซึ่งกันระหว่างไต้หวันและไทยในครั้งนี้ด้วย

ในวันที่ 27 ส.ค. ที่ผ่านมา ทางคณะได้เยี่ยมชม “ตลาดไทย” (Talaad Thai) ซึ่งเป็นตลาดการค้าส่งขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งแบ่งเป็น 20 โซน รวมทั้งผัก ดอกไม้ ผลไม้นานาชนิด พืชอาหาร และเนื้ออาหารทะเล เป็นต้น โดยสมาชิกของคณะฯ ได้สอบถามอย่างละเอียด เกี่ยวกับเรื่องการจัดการผัก ผลไม้ การเก็บสต็อก และการจัดเก็บเพื่อการขนส่ง ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตลาดการค้าส่งได้ให้ข้อมูลและอธิบายเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า รับรอง GAP ในตลาดไทย รวมถึงการยกระดับมูลค่าของตลาดดอกไม้ในท้องถิ่น โดยหัวหน้าทูตคณะเยาวชนเกษตร คุณหยาง ซื่อยี่ ได้เยี่ยมชมตลาดไทยและได้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ไทยมีเอกลักษณ์และสีสันที่สวยงาม ซึ่งช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรได้อย่างดี นอกจากนี้ยังถือเป็นกรณีศึกษาที่ดีสำหรับสมาชิกที่มาศึกษาดูงานในครั้งนี้ด้วย

ทั้งนี้ทางคณะยังได้เยี่ยมชมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยนอกจากการเยี่ยมชมอุปกรณ์การทำเกษตรแล้ว ยังได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับท่านรองคณบดีฝ่ายวิชาการเกษตรศาสตร์ รศ. ดร.สุรเชษฎ์ อร่ามรักษ์ และนักศึกษาของมหาวิทยาลัย ซึ่งหัวข้อในการแลกเปลี่ยนในครั้งนี้เกี่ยวกับตลาดผลเบอร์รี่ในประเทศไทย ข้าวหอมที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ และโอกาสของนักศึกษาไต้หวันที่ศึกษาต่อในคณะเกษตร รวมถึงการวิเคราะห์ผลกระทบด้านต้นทุนจากการใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรของไต้หวัน

จากนั้นในช่วงเย็น สมาชิกคณะเยาวชนการเกษตรจากไต้หวันได้เข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำ และมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันกับผู้บริหารจากจังหวัดสมุทรปราการ, สมาคมการค้าระหว่างประเทศ, ปลัดกระทรวงเกษตร, กรมประมง และนักวิเคราะห์จากกรมวิชาการเกษตร รวมถึงนักวิจัยจากสถาบันพืชสวน นอกจากนี้ยังมีการพูดคุยเกี่ยวกับสมาคมการค้าและการส่งออกผลไม้ไทยหัวหน้าคณะผู้แทนจากกระทรวงการเกษตรไต้หวัน คุณ จง หมิงเจียน ได้กล่าวว่านโยบายใหม่เน้นความร่วมมือและผลประโยชน์ร่วมกัน และการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน

โดยนางสาวสุนิสา บุญญะปฏิภาค เลขาธิการจากสมาคมศิษย์เก่ากองทุนความสัมพันธ์ความร่วมมือระหว่างประเทศไต้หวัน-ไทย ได้กล่าวคำปราศรัยในนามของดร.อนันต์ ดาโลดม ในงานนี้ได้พูดถึงการพัฒนาด้านการเกษตรในระยะเริ่มต้นของประเทศไทยที่ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีและบุคลากรจากไต้หวัน ท่านเชื่อว่าไต้หวันมีความเชี่ยวชาญในด้านการปฏิรูปที่ดิน, ระบบชลประทาน, ระบบสหกรณ์การเกษตร และการวิจัยและพัฒนาในด้านการเกษตร ซึ่งประเทศไทยสามารถเรียนรู้และนำไปใช้เพื่อพัฒนาการเกษตรต่อไปได้

ในช่วงเช้าของวันที่ 28 ส.ค. คณะได้เริ่มต้นกิจกรรมที่สำคัญที่สุดในทริปนี้คือการไปเยี่ยมชม “ศูนย์ผักโลก” (World Vegetable Center-WorldVeg) สาขาเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนอื่น Dr. Anthimos Kampouridis ได้นำเสนอแผนงานที่ศูนย์ผักโลก จากนั้น Dr. Sopana Yule ได้แชร์ผลการวิจัยเกี่ยวกับการควบคุมศัตรูพืชทางชีวภาพ สุดท้าย Dr. Anthimos ได้นำคณะเยี่ยมชมฟาร์มทดลอง เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเพาะพันธุ์พืช เช่น มะระขี้นก รังบวบ และฟักทอง รวมถึงขั้นตอนการเพาะเมล็ดและการเจริญเติบโตของพืชพันธุ์

คุณจาง หมินเสียง สมาชิกคณะเยาวชนการเกษตร ได้กล่าวว่า ครั้งนี้เราได้เข้าใจว่าโครงการปรับปรุงพันธุ์ผักของศูนย์ผักโลกช่วยเหลือการปลูกผักและการบริโภคสารอาหารในประเทศกำลังพัฒนาอย่างไร และจากพื้นฐานเทคโนโลยี IPM ของกระทรวงเกษตรไต้หวัน เรายังได้เรียนรู้วิธีการนำไปใช้ในการปลูกดอกไม้รับประทานในประเทศไทย ซึ่งทำให้เราได้รับความรู้มากมาย

You May Also Like

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *