BEDO นำเสนอการพัฒนา AI มาสร้างโอกาสในการพัฒนาธุรกิจ

สพภ. แนะนำว่า AI กับโอกาสทางธุรกิจชีวภาพ โดยสามารถพัฒนาเป็น Soft Power สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ ให้เกิด การบริหารจัดการการนำทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการ อนุรักษ์อย่างยั่งยืน BEDO ได้ขับเคลื่อนการทำงานด้านทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ ควบคู่กับการ บริหารจัดการข้อมูลทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพในรูปแบบของระบบฐานข้อมูลความหลากหลายทาง ชีวภาพ โดยเริ่มต้นจากการค้นหาของดีจากความหลากหลายทางชีวภาพ และได้รับการสนับสนุนข้อมูลจาก นักวิชาการที่ร่วมกันจัดทำข้อมูลบัญชีรายการทรัพยากรชีวภาพ ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้อมูลเศรษฐกิจ ข้อมูล องค์ความรู้ออนไลน์ และข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำเข้าข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจน สพภ. ยังได้พัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลด้วย ปัญญาประดิษฐ์ เพื่อนำใช้ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม ตอบโจทย์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ว่าจะเป็นวิสาหกิจชุมชน ภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ ภาคการศึกษา ไปต่อยอดเชิงคุณค่าเชื่อมโยงกับวัฒนธรรม การสั่งสมความรู้ของสังคม เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อใช้ในการพัฒนาธุรกิจ การผลิตสินค้าและบริการในรูปแบบใหม่จากความหลากหลาย ทางชีวภาพ ที่ถือเป็น “วัตถุดิบในเชิงเศรษฐกิจ” นำไปสู่การพัฒนาเป็น Soft Power สร้างฐานรายได้ใหม่เป็น New Engine of Growth ในอนาคต

 เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567 สพภ. ได้จัดประชุมเผยแพร่ความหลากหลายทางชีวภาพกับการสร้างโอกาส ทางธุรกิจด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ ในหัวข้อ “AI กับโอกาสทางธุรกิจชีวภาพ” ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอน เวนชั่น โดยมีนางสุวรรณา เตียรถ์สุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ เป็นประธานใน พิธี พร้อมด้วยคณะกรรมการ สพภ. คณะผู้บริหาร สพภ. และวิทยากรทุก ๆ ท่าน และมีผู้เข้าร่วมที่มีความสนใจ เป็นจำนวนมากกว่า 100 คน โดยภายในงานได้มีการแนะนำระบบของ สพภ. และให้ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ หัวข้อ “AI กับโอกาสทางธุรกิจชีวภาพ” คือ

1) แนะนำระบบงานบริการของ สพภ. โดย ดร.ธนิต ชังถาวร รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจ จากฐานชีวภาพ

 2) แนะนำระบบฐานงานบริการข้อมูลฐานชีวภาพด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการนำไปใช้ ประโยชน์ โดย นายสัณห์ อุทยารัตน์ ที่ปรึกษาโครงการบริษัท เกรซ เทคโนโลยี แอนด์ คอนซัลแตนท์

3) ให้ความรู้เกี่ยวกับ AI กับเศรษฐกิจชีวภาพ (BCG) โดย ดร.วาริน รัชนานุสรณ์ ผู้อำนวยการสถาบัน ส่งเสริมวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

4) ให้ความรู้เกี่ยวกับ AI กับ เศรษฐกิจ โดยนายสืบศักดิ์ สืบภัคดี กรรมการบริหารและเลขาธิการ สมาคม โทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

5) ให้ความรู้เกี่ยวกับ AI กับ เกษตรที่ยังยืน โดย รศ.ดร.มงคล รักษาพัชรวงศ์ ผู้อำนวยการสถานี รับสัญญาณดาวเทียมจุฬาภรณ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

6) ให้ความรู้เกี่ยวกับ AI กับ สิ่งแวดล้อม โดย ดร.ไชยวัฒน์ กล่ำพล ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 สพภ. จัดประชุมเผยแพร่ “AI กับโอกาสทางธุรกิจชีวภาพ” เพื่อเผยแพร่ข้อมูลฐานชีวภาพเพื่อนำ ความหลากหลายทางชีวภาพไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มในเชิงเศรษฐกิจและสังคม โดยอาศัยข้อมูลเชิงนิเวศ ข้อมูลภูมิปัญญา ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์ และส่งเสริมความรู้การพัฒนาศักยภาพของข้อมูลฐานชีวภาพ ด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในการประมวลผลข้อมูลในเชิงเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งนำไปสู่การพัฒนา เป็น Soft Power สร้างฐานรายได้ใหม่เป็น New Engine of Growth

You May Also Like

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *